วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประกอบด้วย ธาตุอาหารดังนี้

ไนโตรเจนทั้งหมด (N)……..………. 15%
ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P2O5)……15%
โพแทชที่ละลายน้ำ (K2O)…………..15%

พืชที่แนะนำให้ใช้ : พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอกและไม้ประดับ พืชผัก


อัตราที่ใช้ วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้

พืชไร่
ชนิดพืช

วิธีการใส่
มันสำปะหลัง ใส่ปุ๋ยครั้งเดียว เป็นหลุมสองข้างต้นแล้วกลบปุ๋ย ใช้อัตรา 60-80 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุ 1-2 เดือน หรือหลังการกำจัดพืชครักแรก
ฝ้าย ควรใส่ปุ๋ยสูตรนี้ในอัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่เป็นสองครั้งเท่าๆ กัน ครั้งแรกใส่ 40 กิโลกรัม ต่อไร่โดยโรยเป็นแถวรองกันหลุมก่อนปลูก ครั้งที่สองใส่ปุ๋ย 40 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 30-90 วัน โดยวิธีโรยสองข้างแถวก่อนพูนดินกลบ
ปอแก้ว ใช้ปุ๋ยเพียงครั้งเดียวโดยโรยตามข้างแถวปลูก แล้วพรวนดินกลบ เมื่อปอมีอายุ 15-20 วัน ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
อ้อย ใส่ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนี้

อ้อยปลูกใส่ครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน ครั้งที่สองใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในดินเหนียว หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) ในดินทราย อัตรา 25 และ 50 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน

อ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยใช้วิธีโรยข้างแถว ในเขตชลประทาน ครั้งแรกใส่ทั้งหมด หลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ในดินเหนียวหรือใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินทราย หลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยช้างแถว ควรใส่ปุ๋ยเคมีขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะและจะต้องพรวนดินกลบปุ๋ย

ไม้ผล
ใส่บริเวณทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ ในอัตราต้นละ 1-5 กิโลกรัมต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของต้น และในปีหนึ่งๆ ควรแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 3 ครั้ง

พืชผัก
ใส่เมื่อพืชตั้วตัวดีแล้ว แบ่งใส่สองครั้ง ครั้งแรกใส่ในอัตรา 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีหว่านหรือรองต้นหลุม ครั้งที่สองในอัตราเดียวกับครั้งแรก หลังจากการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก 15-30 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว

ไม้ดอกไม้ประดับ
ถ้าปลูกเป็นไร่ใช้เช่นเดียวกับพืชผัก ถ้าปลูกเป็นกระถางใช้ประมาณ 15-30 กรัมต่อกระถาง

ข้อควรระวัง
1. ควรอ่านคำแนะนำเอกสารกำกับปุ๋ยให้เข้าใจเสียก่อนทุกครั้ง หากไม่เข้าใจหรือมีปัญหาสงสัยให้ปรึกษาเจ้าพนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ในเขตท้องที่นั้นๆ เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ถ้าสภาพพื้นที่ลาดเทมาก และไม่ได้ปลูกตามแนวระดับ ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีโดยวิธีหว่าน เพราะน้ำฝนจะชะล้างปุ๋ยเคมีหมดไป
3. อย่าใส่ปุ๋ยเคมีชิดต้นยางมากเกินไป หรือห่างจนพ้นรัศมีที่กำหนด รากยางจะไม่ได้รับปุ๋ยเคมี
4. อย่าหว่านปุ๋ยเคมีในระยะที่อากาศแห้งแล้ง เม็ดปุ๋ยเคมีจะไม่ละลาย จะเสียปุ๋ยและแรงงาน
5. ใส่ปุ๋ยตามจำนวนและภายในรัศมีที่กำหนด และดินปลูกเป็นดินร่วน
6. ควรหมั่นดูแลป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชอยู่เสมอ
7. ควรเก็บปุ๋ยเคมีในภาชนะทิ่ปิดมิดชิด อย่าให้ถูกความร้อน แสงแดด และฝน



<<< กลับ >